|
|
|
|
ความเป็นมา |
สนามบินตาก (เก่า) ก่อสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ณ ตำบลระแหง อำเภอเมืองจังหวัดตาก ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ประกาศเป็นสนามบินอนุญาตตามประกาศกระทรวงคมนาคมที่ 2/2497 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2497 บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ได้ใช้เครื่องบินดักลาส DC-3หรือดาโกต้า ทำการบินให้บริการผู้โดยสารแบบประจำแต่ได้เลิกทำการบินประมาณ พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นกระทรวงคมนาคมได้ประกาศยกเลิกเป็นสนามบินอนุญาต เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ใน พ.ศ. 2516 ช่วงเวลาที่ยังใช้สนามบินเดิมอยู่นั้น รัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร พิจารณาให้กรมการบินพาณิชย์จัดหาที่เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ เนื่องจากที่เดิมมีภูมิประเทศไม่เหมาะสมมีราษฎรทำการบุกรุกที่ดิน มีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านและยังมีคลองน้ำไหลผ่านบริเวณท่าอากาศยานรวมทั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองมากเกินไป กรมการบินพาณิชย์ได้ขอความอนุเคราะห์กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่บริเวณป่าสงวนจำนวน 1,300 ไร่ ซึ่งอยู่ในตำบลน้ำรึมอำเภอเมือง เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานตากแห่งใหม่และได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26เมษายน พ.ศ. 2518
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 บริษัทการบินไทย จำกัด ได้ใช้เครื่องบินแบบเอทีอาร์-72(ATR-72) ทำการบินรับ-ส่ง เส้นทางกรุงเทพฯ-ตาก-แม่สอด-เชียงใหม่ ไป-กลับ จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2537 จึงขอหยุดทำการบิน เนื่องจากผู้โดยสารน้อยไม่คุ้มค่าต่อการทำการบิน แต่ก็ยังมีเครื่องบินที่ใช้ในราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจและเครื่องบินส่วนบุคคล ทำการบินเป็นครั้งคราว
ปัจจุบันท่าอากาศยานตากสามารถ รองรับอากาศยานขนาดสูงสุดได้ถึงเอทีอาร์-72 (ATR-72)
|
|
|
|
|
ผู้เยี่ยมชมวันนี้ |
2 |
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด |
33,561 |
|